หน้าแรกเมนูอาหารไทย | อาหารจานเดียว | อาหารผัด ทอด | อาหารแกง ต้ม | อาหารยำ | อาหารอีสาน | น้ำผักผลไม้ | ของหวาน | เคล็ดลับการปรุงอาหาร

วิธีเก็บอาหารเด็ก วิธีถนอมอาหารลูกน้อย ขั้นตอนการถนอมอาหารเด็ก

การเก็บและถนอมอาหารเด็กที่ถูกวิธี

เก็บอาหารใส่ภาชนะอย่างไร
วิธีเก็บอาหารและถนอมอาหารเด็กที่ถูกต้อง
  • อาหารที่เตรียมไว้ให้ลูกแล้ว ไม่ควรปล่อยให้ร้อน หรือเย็นชืด ควรรีบเอาไปคลายความร้อน และใส่ภาชนะที่ปิดมิดชิด แล้วเก็บเข้าตู้เย็เ
  • อาหารเด็กที่คุณแม่ปรุงเองสามารถเก็บในภาชนะแช่ตู้เย็นได้นาน 24 ชั่วโมง
  • คอยตรวจสอบอุณหภูมิของตู้เย็นให้อยู่ระหว่าง 0-5 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ต้องแช่อาหารและนมสำหรับลูกไว้ที่บริเวณชั้นกลางของตู้เย็นอันเป็น จุดที่เย็นที่สุดไว้เสมอ และห้ามนำไปแช่ที่บริเวณฝาตู้เย็น
  • หากเตรียมอาหารสำหรับแช่แข็ง ให้รีบคลายความร้อนโดยเร็วที่สุดและนำไปแช่แข็งทั้งอย่างนั้นเลย
  • ไม่ควรนำอาหารเด็กที่เก็บไว้นานๆ หรือแช่แข็งไว้นานๆ มาอุ่นให้เด็กบริโภคเป็นอย่างยิ่งเพราะจะเป็นอันตรายต่อเด็ก ควรบริโภคอาหารที่สดใหม่เสมอ
  • เมื่อต้องการถนอมอาหารไว้ควรเอาอาหารใส่ภาชนะมีฝาปิดสนิท มิดชิดหรือผนึกใส่ถุง อย่าให้มีอากาศหรือช่องโหว่เด็ดขาด
  • เมื่อต้องการเอาอาหารจากช่องแช่งมาให้เด็กต้องทำการละลายน้ำแข็งให้ทั่วถึงดีเสียก่อน ก่อนนำอาหารมาอุ่น
  • ห้ามเอาอาหารที่เคยแช่แข็งแล้วไปแช่แข็งซ้ำอีกแล้วนำมาบริโภค
  • ห้ามนำอาหารที่อุ่นแล้วครั้งหนึ่งมาอุ่นซ้ำ และต้องอุ่นอาหารให้ร้อนทั่วถึง จากนั้นจึงค่อยคลายความร้อนก่อนนำไปป้อนลูก
  • เมื่อต้องเอาอาหารทารกมาอุ่นโดยเครื่องไมโครเวฟ ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น พยายามคนอาหารให้ทั่วถึงเพื่อป้องกันการเกิดจุดสะสมความร้อน พักให้อาหารคลายความร้อนจนถึงระดับที่ปลอดภัยก่อนนำไปป้อนลูก
  • การเก็บและถนอมอาหารไม่ควรนำอาหารเด็กที่ทานแล้ว กับอาหารเด็กที่ยังไม่ได้ทานมารวมกัน และควรเอาช้อนหรือภาชนะออกจากชาม หรือถ้วยจานออกก่อนเก็บ เพราะ เอมไซม์จากน้ำลาย และแบคทีเรียต่างๆจะอยู่ในช้อนหรือภาชนะใส่อาหาร ควรแยกเก็บและปิดให้มิดชิดจึงเอาเข้าแช่งตู้เย็น
เมนูอาหารเด็กอื่นๆ